มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ

สิงหาคม 23, 2013 บทความเกี่ยวกับระบบอากาศ 0

มลพิษทางอากาศ  คือสภาวะอากาศที่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงมาก  ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจาก   ควันจากท่อไอเสียของรถยนต์  การระเหยของก๊าซในโรงงานอุตสาหกรรม  การเผ่าขยะมูลฝอย  การเผ่าไหม้ในครัวเรือน  เป็นต้น ปัญหา  “มลพิษทางอากาศ”  เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมืองหลวง  ซึ่งปัญหามลพิษทางอากาศนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรที่อยู่ในเมือง  ทั้งปอด  หัวใจ  และระบบหายใจ  เนื่องจากประชากรจะสูญมลพิษเหล่านี้เข้าไป  ได้แก่  ฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน  10  ไมครอน  ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์  สารตะกั่ว  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  ไนโตรเจนไดออกไซด์  และก๊าซโอโซน

แหล่งกำเนิดที่สำคัญและผลกระทบของมลพิษทางอากาศ

มลพิษ

แหล่งกำเนิที่สำคัญ

ผลกระทบ

PM-10

การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ฝุ่นละออง
แขวนลอยคงค้างในถนน ฝุ่นจากการ
ก่อสร้างและจากอุตสาหกรรม
PM-10 มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนอย่างสูงเพราะ
มีขนาดเล็กจึงสามารถแทรกตัวเข้าไปในปอดได้

SO2

การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ
ซึ่งส่วนใหญ่คือ ถ่านหินและน้ำมัน และอาจเกิด
จากกระบวนการทางอุตสาหกรรมบางชนิด
การสะสมของ SO2 จำนวนมากอาจทำให้เป็นโรคหอบหืดหรือ
มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้การรวมตัวกัน
ระหว่าง SO2 และ NOxเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดฝนกรด
(acid rain) ซึ่งทำให้เกิดดินเปรี้ยว และทำให้น้ำในแหล่งน้ำ
ธรรมชาติต่างๆ มีสภาพเป็นกรด

สารตะกั่ว

การเผาไหม้ alkyl lead ที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบนซิน สารตะกั่วเป็นสารอันตรายที่ส่งผลทำลายสมอง ไต โลหิต
ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบสืบพันธุ์ โดยเด็กที่ได้รับ
สารตะกั่วในระดับสูงอาจมีพัฒนาการรับรู้ช้ากว่าปกติ และ
การเจริญเติบโตลดลง

CO

การเผาไหม้ของน้ำมันที่ไม่สมบูรณ์ CO จะเข้าไปขัดขวางปริมาณก๊าซออกซิเจน (O2) ที่ร่างกาย
จำเป็นต้องใช้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดจึง
ีมีความเสี่ยงสูงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ถ้าได้รับ CO ในระดับสูง

NOx

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และยังมีบทบาทสำคัญ
ในการก่อตัวของ O3 และ ฝุ่นละออง
การรับ NOxในระดับต่ำอาจทำให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ
มีความผิดปกติของปอด และอาจเพิ่มการเจ็บป่วยของโรคระบบ
ทางเดินหายใจในเด็ก ขณะที่การรับ NOxเป็นเวลานานอาจเพิ่ม
ความไวที่จะติดเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจและทำให้ปอดมีความ
ผิดปกติอย่างถาวร

O3

การทำปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
(Volatile organic compound: VOC) และออกไซด์ของ
ไนโตรเจนโดยมีความร้อนและแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
O3 อาจทำให้เกิดอันตรายเฉียบพลันต่อสุขภาพ เช่น ความระคายเคืองต่อสายตา จมูก คอ ทรวงอก หรือม
ีอาการไอ ปวดหัว นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผลผลิต
ทางการเกษตรต่ำลง

ที่มา: ธนาคารโลก

co2 จากรถยนต์

co2 จากรถยนต์

ภาพจาก: dalinew.co.th

สารมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

  • Carbonn monoxide  ที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์  เป็นแก๊สที่มีอันตรายต่อสุขภาพถ้าหากเราสูดดม  Carbonn monoxide  เข้าไปยังปอดคาร์บอนไดออกไซด์จะไปรวมตัวกับ  haemoglobin   ของเม็ดเลือดแดงแทนออกซิเจนส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะคลื่นไส้ อาเจียน และถ้าหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
  • Sulfur dioxide  ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหินน้ำมันปิโตรเลียม ถ่านไม้ เมื่อสูดดมSulfur dioxide  เข้าสู่ร่างกายจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคปอด  โรคหลอดลมอักเสบและโรคมะเร็งได้
  • ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นแก๊สที่มีกลิ่นฉุนเมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ หรืออาจทำให้เกิดเนื้องอกในปอดได้
  • ไนตริกออกไซด์ (NO) มีกลิ่นฉุนมาก ทำลายเยื้อจมูกและหลอดลม ขัดขวางการได้รับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง
  • ฝุ่นละออกขนาดเล็ก ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ ทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว มีทั้งขนาดใหญ่  ขนาดเล็กและขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  ซึ่งฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ในอากาศทั่วไปเกิดจากควันจากท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม  เมื่อสูดเอาฝุ่นละอองพวกนี้เข้าสู่ปอดจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพเป็นอย่างมากโดยเฉพาะฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ ซึ่งสามารถผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างและถุงลมปอดส่งผลทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคปอด  และถึงขั้นเกิดการระคายเคืองจนทำลายเยื่อหุ้มปอดได้
  • ควันขาว เป็นควันที่เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการดูแล  เช่นเครื่องยนต์ของรถที่ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง  หากสูดดมควันชนิดนี้เข้าไปจะส่งผลทำให้หลอดลมอักเสบและยังส่งผลต่อนัยน์ตาของคนได้โดยจะมีอาการแสบและระคายเคือง
  • ควันดำ  เป็นคาร์บอนที่มีลักษณะเป็นผงเขม่าขนาดเล็ก  เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล  หากสูดดมเข้าไปในร่างกายควันดำชนิดนี้จะไปสะสมอยู่ในถุงลมปอดทำให้เกิดโรคมะเร็ง
  • ตะกั่ว ตะกั่วเป็นสารพิษที่ส่งผลทำลายระบบประสาท หากสูดดมเอาตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยตะกั่วที่มักพบอยู่ในบรรยากาศนั้นเกิดจากสารตะกั่วที่ใช้ผสมอยู่ในน้ำมันเบนซินของเครื่องยนต์

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ/จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะบันทึกการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เราจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับให้เว็บไซต์และเนื้อหาใด ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บตรงกับความสนใจของคุณมากขึ้น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า