โรคหืดกับมลภาวะทางอากาศ

โรคหืดกับมลภาวะทางอากาศ

ตุลาคม 29, 2013 บทความทั่วไป สุขภาพ 0

คนไทยกว่า 3 ล้านคน มีความคุ้นเคยกับอาการของโรคหืดหอบ และจากข้อมูล คนไทยเสียชีวิต 1,697 ในปี พ.ศ. 2546 ในประเทศสหรัฐมีผู้ที่เป็นโรคหอบหืดกว่า 20 ล้านคน และเป็นขั้นรุนแรงและเสียชีวิต 5,000 คน ต่อปี โรคหอบหืดเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้เด็กในประเทศสหรัฐ14 ล้านคนต้องออกจากโรงเรียน นายจ้างต้องสูญเสียวันทำงาน 12 ล้านวัน ให้กับลูกจ้างที่ป่วยด้วยโรคหอบหืด และมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ต้องได้รับการรักษาในห้องฉุกเฉินเกือบ 2 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้มลพิษทางอากาศเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อสุขภาพ โดยการลดระดับมลพิษทางอากาศสามารถช่วยประเทศลด ภาระของโรคจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และโรคมะเร็งปอด

asthma2

สิ่งที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืด

ได้แก่ ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ หรือแมลงสาบ ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้ความเสียงเกิดโรคหอบหืดลดลง แต่สภาวะแวดล้อมในปัจจุบันแวดล้อมไปด้วยสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืด มลพิษทางอากาศจากรถยนต์ โรงงาน และโรงไฟฟ้า เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหอบหืด และประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยในพื้นที่ที่มีอากาศเลวร้าย

มลพิษทางอากาศที่กระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด

  • ก๊าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2): ก๊าซนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปล่อยจากกระบวนการเผาไหม้ถ่านหินและน้ำมันดิบในโรงงานผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะโรงงานไฟฟ้าที่ไม่มีการควบคุมการปล่อยมลพิษ ทำให้ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์สู่อากาศในปริมาณมาก
  • อนุภาคในอากาศ : ประกอบไปด้วยส่วนผสมที่ซับซ้อนของอนุภาคของแข็งและของเหลวของสารอินทรีย์และอนินทรีลอยอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ขี้เถ่า ควันไอเสีย ควันบุหรี่ ละอองซัลเฟต อนุภาคจะมีการระบุชนิดได้ตามเส้นผ่าศูนย์กลางเช่น  PM10 (อนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน) หรือ PM2.5 (เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน) จะมีอันตรายมากขึ้นเนื่องจากเมื่อสูดดม อนุภาคนี้จะมีขนาดเล็กทำให้ฝั่งอยู่ในปอด และอาจทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ ถ่านหินจากโรงงานไฟฟ้า ยานพาหนะ และโรงงานต่างๆ ที่ใช้นำมันดีเซลเป็นแหล่งสำคัญของมลพิษ
  • ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) : ก๊ายที่ปล่อยออกมาจากปล่อยท่อไอเสีย และโรงไฟฟ้า ก่อให้เกิดการก่อตัวของหมอกควัน นอกจากนี้ยังทำปฏิกิริยากับมลพิษทางอากาศอื่นๆ ทำให้หายใจได้ลำบาก ในปัจจุบันจำกัดปริมาณของไนโตรเจนออกไซด์เท่ากับ 40 µg/m3 (annual mean)

จะเห็นได้ว่ามลภาวะทางอากาศเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืด ดังนั้นในตรวจสอบคุณภาพของอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ EPA  (EPA’s Air Quality Index )

Air Quality Index (AQI) Values

Levels of Health Concern

Colors

When the AQI is in this range: …air quality conditions are: …as symbolized by this color:
0 to 50 ดี เขียว
51 to 100 ปานกลาง เหลือง
151 to 200 ไม่ดีสำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ส้ม
151 to 200 ไม่ปลอดภัย แดง
201 to 300 ไม่ปลอดภัยมาก ม่วง
301 to 500 มีอันตราย น้ำตาลแดง

ตรวจสอบเว็บไซต์ของ http://aqicn.org/map/thailand/ โทรทัศน์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ หรือวิทยุ เพื่อตรวจสอบรายงานสภาพอากาศในแต่ละวัน ในวันที่อากาศไม่ดีแทนด้วยสีส้ม และสีแดง เด็ก และบุคคลที่มีโรคระบบทางเดินหายใจควรจำกัดเวลาอยู่กลางแจ้ง สีม่วง และสีแดง บ่งบอกถึงระดับความรุนแรงของมลพิษ จนกระทั้งผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีก็ควรอยู่ในอาคาร

แม้ว่าคุณภาพอากาศสามารถทำให้ดีขึ้นได้ ก็ตามมลพิษนั่นยังคงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่  การเข้มงวดของรัฐในการบังคับการปล่อยมลพิษทางอากาศของโรงงานอุตสาหกรรม ควบคุมการติดตั้ง scrubbers เพื่อลดการปล่อยก๊าซ ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด สนับสนุนให้ประชาชนใช้เชื้อเพลิงสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นพลังงานสกปรก และสารเคมีอื่น ๆ

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ/จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาเข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะบันทึกการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เราจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับให้เว็บไซต์และเนื้อหาใด ๆ ที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บตรงกับความสนใจของคุณมากขึ้น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า