Zeolite คือ สารประกอบอะลูมิโนซิลิเกต (crystalline aluminosilicates) หน่วยย่อยของซีโอไลต์ประกอบด้วย อะตอมของซิลิคอน(หรืออะลูมิเนียม) หนึ่งอะตอม และออกซิเจนสี่อะตอม (SiO4 หรือ AlO4) สร้างพันธะกันเป็นรูปเหลี่ยมสี่หน้า (tetrahedron) โดยอะตอมของซิลิคอน (หรืออะลูมิเนียม)อยู่ตรงกลาง
ล้อมรอบด้วยอะตอมของออกซิเจนที่มุมทั้งสี่ซึ่งโครงสร้างสามเหลี่ยมสี่หนานี้ จะเชื่อมต่อกันที่มุม (ใช้ออกซิเจนรวมกัน) ก่อให้เกิดเป็นโครงสรางที่ใหญขึ้นและเกิดเป็นช่องว่างระหว่างโมเลกุล ทําให้ซีโอไลต์เป็น ผลึกแข็ง เป็นรูพรุนและช่องว่างหรือโพรงที่ต่อเชื่อมกันอย่างเป็นระเบียบในสามมิติ ขนาดตั้งแต่ 2-10 อังสตรอม (1 อังสตรอมเท่ากับ 1×10-10 เมตร) นอกจากซิลิคอน และออกซิเจนแล้วในโครงสร้างโมเลกุลของ ซีโอไลต์ยังมีประจุบวกของโลหะ เชน โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เกาะอยูอย่างหลวมๆ และยังมีโมเลกุลของน้ำอยู่ในช่องว่างในโครงผลึก สามารถต้มให้เดือดระเหยออกไปได้
ความเป็นมาที่เกี่ยวกับของการสังเคราะห์ ซีโอไลต์ได้เริ่มจากการสังเคราะห์ซีโอไลต์เอ (A) เอกซ์ (X) และวาย (Y) และนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการที่ สำคัญสำหรับอุตสาหกรรม ได้แก่ การดูดซับ (adsorption) โดยเริ่มจากการใช้ ซีโอไลต์ A เป็นตัวดูดความชื้นในแก๊สทำความเย็น หรือ แก๊สธรรมชาติ(ปี 1955) ต่อมาใช้ในกระบวนแยก สารประกอบ n-butane และ iso-butane (ปี 1959) ซึ่งการประยุกต์ซีโอไลต์กับกระบวนการดูดซับ หรือการเร่งปฏิกิริยา ต้องอาศัยหลักการแพร่ของโมเลกุลสารผ่านรูพรุนซีโอไลต์ โดยโครงสร้างซีโอไลต์สามารถจำแนกตามขนาดรูพรุน ได้เป็น 3 ชนิด ดังแสดงในตาราง
ส่วนในระบบฟอกอากาศ ZEOLITE มีหน้าที่ Zeolite ทำหน้าที่ดูดซับสารพิษ ก๊าซพิษต่างๆ เช่น ก๊าซไอโอดีน ตะกั่ว แอมโมเนีย ฯลฯ เป็นต้น